
ยุทธศาสตร์แผนพัฒนา 5 ปี
กลุ่มงานพัสดุ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
- วิสัยทัศน์ ( สิ่งที่เราต้องการให้พัสดุเป็น ภายในกรอบระยะเวลา 5 ปี )
องค์กรมืออาชีพ เป็นเลิศด้านพัสดุ ก้าวทันเทคโนโลยี
คำนิยาม
องค์กรมืออาชีพ : เชี่ยวชาญ ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานงานพัสดุ
เป็นเลิศด้านพัสดุ : เป็นอันดับ 1 ในเขตสุขภาพที่ 11 (นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี กระบี่ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต )
ก้าวทันเทคโนโลยี : บริหารจัดการด้วยระบบสารสนเทศที่ทันสมัย
2. พันธกิจ ( กรอบ หรือขอบเขตการดำเนินงานของหน่วยงาน หรือหน้าที่ความรับผิดชอบ )
1. ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามขั้นตอนและระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง
และการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 และระเบียบ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. พัฒนาระบบการบริหารจัดการคลังพัสดุ
3. จัดระบบการควบคุม รักษาและการเบิกจ่ายพัสดุ
4. ดำเนินการจำหน่ายพัสดุ
3. ประเด็นยุทธศาสตร์ ( ประเด็นหลักที่ต้องคำนึง ต้องพัฒนา ต้องมุ่งเน้น )
1. พัฒนาพัสดุเชิงรุกที่ตอบสนองต่อผู้รับบริการ
2. บริหารจัดการสินทรัพย์ ให้มีประสิทธิภาพ
3. พัฒนาบุคลากรเพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์
4. เป้าประสงค์ (Goal) ( สิ่งที่พัสดุคาดหวัง ปรารถนาจะบรรลุ เมื่อดำเนินการตามแผนแล้วใครได้รับผลประโยชน์ และได้รับผลประโยชน์อย่างไร )
ผู้รับบริการ : ได้รับพัสดุที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้
ผู้ให้บริการ : พัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญ เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน
องค์กร : เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการงานพัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ค่านิยมขององค์กร
Pasadu : มืออาชีพ มุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยความเชี่ยวชาญ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
P : Professional มืออาชีพ
S : smart มุ่งผลสัมฤทธิ์ด้วยความเชี่ยวชาญ
D : develop พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
กลยุทธ์ ( กลไกที่นำพาประเด็นยุทธศาสตร์ ให้บรรลุเป้าประสงค์ ) ที่มาของกลยุทธ์ได้มาจากการวิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน ปัจจัยภายนอกขององค์กร สามารถสรุปกลยุทธ์ได้ทั้งหมดดังนี้
1 พัฒนาระบบบริหารจัดการความเสี่ยง
2 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อ จัดจ้าง
3 ทบทวนระบบการควบคุมภายในงานพัสดุ
4 การขยายการเบิกจ่ายพัสดุ
5 พัฒนาศักยภาพบุคลากร
6 พัฒนาการควบคุมระบบครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง)
7 บริหารจัดการคลังพัสดุให้เพียงพอ
8 พัฒนาระบบสารสนเทศงานพัสดุ
ประเด็นยุทธศาสตร์
- พัฒนาพัสดุเชิงรุก
– พัฒนาระบบบริหารจัดการความเสี่ยง
– บริหารจัดการคลังพัสดุให้เพียงพอ
– การขยายการเบิกจ่ายพัสดุ
– พัฒนาระบบสารสนเทศงานพัสดุ
2. บริหารสินทรัพย์
– พัฒนาการควบคุมระบบครุภัณฑ์ (ครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง)
– ทบทวนระบบการควบคุมภายในงานพัสดุ
– เพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อ จัดจ้าง
3. พัฒนาบุคลากร
– พัฒนาศักยภาพบุคลากร